วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

น้ำหมักผมจากมะกรูด

โครงงานอาชีพ
เรื่อง น้ำหมักจากมะกรูด







                                          อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/4

ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2557

โครงงานอาชีพ
เรื่อง น้ำหมักจากมะกรูด

คณะผู้จัดทำ
                       นางสาว พิสมัย  สิมโสม เลขที่25
                       นางสาว จิรัชญา  คงทน เลขที่35
                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/4

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/4

ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2557


บทคัดย่อ
                 มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้อยู่อาศัย จะได้มีความสุข และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม วัวหรือควายเมื่อได้กลิ่นสาบเสือ จะหยุดเดิน เจ้าของจะต้องขูดผิวมะนาวหรือมะกรูด ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบเสือก่อน จึงจะเดินต่อไป ดังนั้นการเดิน ทางสมัยก่อนผ่านป่า ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาว และมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ 
















กิตติกรรมประกาศ
               โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาประวัติและวิธีการน้ำมะกรูดหมักผมที่ถูกวิธีและที่สำคัญคือทำได้เองที่บ้าน มะกรูดหมักผมช่วยทำให้ผมดูสวยและเงางามยูตลอดเวลาละเป็นที่นิยมกันมากที่จะคนไทยจะใช่กันมากในอดีตและเป็นที่นิยมของคนไทย ซึ่งน้ำมะกรูดหมักผมเราสามารถทำใช่เองในบ้านได้หรือทำขายในชุมชนของเราเองก็ได้ถือเป็นการใช้ของไทยชซื้อของไทยอีกด้วย
              และการจัดทำโครงงานครั้งนี้สำเร็จไปได้ดัวยดีเนื่องจากได้คำปรึกษาจาก อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด กลุ่มของพวกเราจึงขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้
















สารบัญ
       เรื่อง                                                                                           หน้า
บทที่1 บทนำ      
                     - ที่มาและความสำคัญ   /จุดมุ่งหมายของโครงงาน/สมมติฐาน /ขอบเขตการศึกษา           1
 บทที่2 เอกสารที่
                     -เอกสารที่เกี่ยวข้อง / ลักษณะทั่วไป/สารสำคัญ/คุณสมบัติ/ปฎิบัติดูแลรักษา/ประโยนช์ของอะกรูด2-7
บทที่3 วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนวิธีดำเนินงาน                                          
                    -วัสดุอุปกรณ์  /ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน                                                                      8
บทที่4 ผลการเรียนรู้  
                -วัสดุ/อุปกรณ์ /ส่วนผสม  /วิธีการ                                                                                 9-11
บทที่5 สรุปผลและอภิปรายผลงาน      
                    -สรุป/อภิปราย/ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน                                                                 12
ภาคผนวก                                                                                                                                         13
อ้างอิง                                                                                                                                                   14


บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
         มะกรูด มะกรูดมีการใช้ประโยชน์อย่างมาก เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและยาสมุนไพร สามารถนำไปประกอบอาหารดับกลิ่นคาวและเป็นยารักษาโรค เช่น ช่วยแก้อาการท้องอืด แก้ปวดท้อง บำรุงโลหิตสตรี ขับเสมหะ ฯลฯ นอกจากการบริโภคเป็นอาหารและเป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางประเภทต่าง ๆได้อีกด้วย เช่น แชมพู ครีมนวด ครีมหมักผมเป็นต้น ส่วนต่าง ๆของมะกรูด สามารถเก็บรักษาไว้ในรูปของแห้ง คือ ใบมะกรูดแห้ง และผิวมะกรูดแห้ง หรือน้ำมันหอมระเหยสารสกัดวิธีต่างๆปัจจุบันความต้องการมะกรูดของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องด้วยสรรพคุณของมะกรูดที่มีความหลากหลาย แต่เกษตรกรมักจะปลูกมะกรูดกันในลักษณะเป็นพืชผักสวนครัว หรือพืชรองเท่านั้น
          มะกรูดสามารถประยุกต์  ได้หลายแบบ เช่น
ทำเป็นน้ำยาสะผม น้ำยาล้างจานและมีสรรพคุณอีกมากมากมายในการทำประโยชน์อีกหลายอย่าง
จุดมุ่งหมายของโครงงาน
1.            เพื่ออนุรักษ์ของไทย
2.            เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
3.            เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4.            เพื่อฝึกการทำน้ำยาหมักผมจากมะกรูด
5.            เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำน้ำยาหมักผมมะกรูด
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์น้ำยาหมักผมจากมะกรูด ที่ใช้มะกรู
 ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับน้ำมะกรูดหมักผม
บทที่2
                                                       เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
มะกรูด

 
ชื่อวิทยาศาสตร์
Citrus hystrix DC.
ชื่อไทย
มะกรูด
ชื่อท้องถิ่น
- มะขู่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ไฮ่สะหวิย(ปะหล่อง), มะกิ้ว(ไทลื้อ), มะขูด(คนเมือง), มะขู(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - มะขูด มะขุน (ภาคเหนือ)ม ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้), มะหูด (หนองคาย), โกร้ยเขียด (เขมร), มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) [3]
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร แตกกิ่งก้าน ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็ง
ใบ เป็นใบประกอบชนิดลดรูป จากก้านใบแผ่เป็นแผ่นใบขนาดใหญ่เท่ากับแผ่นใบ และมีใบย่อย 1 ใบ ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผิวใบเรียบเป็นมัน ใบมีสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา มีต่อมน้ำมัน กลิ่นหอมมาก
ดอก สีขาว ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุก เกิดตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 4-8 กลีบ รูปรี ร่วงง่าย เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม.
ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 ซม. ผิวขรุขระ เมื่อสุกมีสีเหลือง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก [3]
ส่วนที่ใช้  ผล
สรรพคุณ : ผล  รสเปรี้ยว สรรพคุณ ใช้ทำยาดอง ฟอกโลหิต ถอนพิษผิดสำแดง
  • วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด
ส่วนที่ใช้
ผล ผิวของผล น้ำของผล ใบ และราก
สารสำคัญ
ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล,ไอโซพูลิโกล และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ
คุณสมบัติ
1.ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน
2.ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ
3.กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม
4.ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ในดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ
สรรพคุณทางยา
ขับลมแก้จุกเสียด
วิธีใช้
1.ตัดจุกผลมะกรูด คว้านไส้กลางออก เอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียม บดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้
2.น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน
3.เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู
4.เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดใส่การะบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน
5.เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู
ขนาดการใช้และผลที่ได้รับจากการรักษาโรค
§  แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
§  ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือ ลนไฟให้เปลือกนิ่ม บีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ
§  เป็นยาสระผม หรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อ ต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิว ทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาด นอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม


วิธีการปลูก
ควรปลูกด้วยกิ่งตอน ก่อนจะปลูกควรนำปุ๋ยคอกมาใส่ผสมกับดิน เพื่อให้ดินมีอาหารอุดมสมบูรณ์ดี หลุมที่ปลูกมีขนาดกว้าง x ยาว x ลึก
ประมาณ80เซนติเมตรก่อนที่จะวางพืชลงปลูกในหลุมควรหาใบไม้ใบหญ้าแห้งที่เน่าเปื่อยผุพังใส่รองก้นหลุมระยะปลูกประมาณ 5 x 5เมตร
การปฏิบัติดูแลรักษา
1.             การให้น้ำ ในระยะที่ปลูกมะกรูดใหม่ ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นแก่พืช จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนกิ่งอ่อนดี
2.             การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้พืชเป็นครั้งคราว ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ปกติจะรับประทานใบมะกรูดเป็นอาหารจึงมักใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 20-14-14 หรือใส่ปุ๋ยพื้น เช่น 15-15-15
3.             การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะมีหนอนของผีเสื้อกลางคืนกัดกินใบมะกรูดและยอดอ่อน จึงควรตรวจตราจับหนอนดังกล่าวในเวลาเช้าแล้วทำลายทิ้ง

ประโยชน์ของมะกรูด

1.             มะกรูดมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงและต้านทานโรค
2.             ประโยชน์ของมะกรูดช่วยทำให้เจริญอาหาร
3.             น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีสรรพคุณช่วยผ่อนคลายความเครียด คลายความกังวล ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ด้วยการสูดดมผิวมะกรูดหรือน้ำมันมะกรูดจะช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่การใช้ไม่ควรจะใช้ความเข้มข้นมากกว่า 1% เพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
4.             ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ด้วยการใช้ผิวมะกรูด รากชะเอม ไพล เฉียงพร้า ขมิ้นอ้อย ในปริมาณเท่ากัน นำมาบดเป็นผง นำมาชงละลายน้ำร้อนหรือต้มเป็นน้ำดื่ม
5.             สรรพคุณมะกรูดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
6.             ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ (เปลือกผล)
7.             ช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาผ่าซึกเติมเกลือ นำไปลนไฟให้เปลือกนิ่ม แล้วบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อยๆ จะช่วยแก้อาการไอได้ สูตรนี้ก็สามารถใช้เป็นยาขับเสมหะได้ด้วยเช่นกัน
8.             สรรพคุณของใบมะกรูดสามารถใช้แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำในได้อีกด้วย
9.             ช่วยฟอกโลหิต ด้วยการนำผลมะกรูดสดมาผ่าเป็น 2 ซีกแล้วนำไปดองกับเกลือหรือน้ำผึ้งประมาณ 1 เดือน แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยฟอกโลหิตได้เป็นอย่างดี
10.      ใบมะกรูดสรรพคุณช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน
11.      สรรพคุณของมะกรูดช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล,ราก)
12.      น้ำมะกรูดใช้แก้อาการเลือดออกตามไรฟันได้ โดยหลังแปลงฟันเสร็จให้ใช้น้ำมะกรูดถูบางๆ บริเวณเหงือก
13.      ใช้ปรุงเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้อง ด้วยการใช้ผิวมะกรูดสดฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนแกง เติมการบูรหรือพิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ แล้วนำน้ำที่ได้มาดื่ม 1-2 ครั้ง (เปลือกผล)
14.      ช่วยแก้อาการปวดท้อง หรือใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน หรือการนำผลมะกรูดมาคว้านไส้กลางออก นำมหาหิงคุ์ใส่และปิดจุก แล้วนำไปเผาไฟจนดำเกรียมและบดจนเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งไว้รับประทานแก้อาการปวดได้ หรือจะนำมาป้ายลิ้นเด็กอ่อน ใช้เป็นยาขับขี้เทาก็ได้เช่นกัน
15.      ช่วยขับระดู ขับลม ด้วยการใช้ผลมะกรูดนำมาดองทำเป็นยาดองเปรี้ยวไว้รับประทานแก้อาการ
16.      ช่วยกระทุ้งพิษ ช่วยรักษาฝีภายใน (ราก)
17.      มะกรูด สรรพคุณช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี
18.      น้ำมันมะกรูดมีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้
19.      ใช้สระผมเพื่อทำความสะอาด ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพู หรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่างๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย ด้วยการผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จ ให้เอามะกรูดสระผมซ้ำ ด้วยการใช้มะกรูดยีให้ทั่วบนผม แล้วล้างออก จะช่วยทำความสะอาดผมได้
20.      ช่วยล้างสารเคมีในเส้นผม เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องโดนทั้งฝุ่นระออง แสงแดด ยาสระผม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้ผมแห้งกรอบได้ แม้จะใช้ครีมนวดผมหรือทรีทเม้นท์บำรุงและซ่อมแซมผมก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังส่วนผสมของสารเคมีอยู่ สำหรับวิธีการปกป้องเส้นผมและล้างสารเคมีก็ง่ายเพียงแค่ใช้น้ำมะกรูดมาชโลมบนผมที่เปียกชุ่ม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วล้างซ้ำอีกรอบด้วยน้ำเย็นจะทำให้ผมเงางามและมีน้ำหนักขึ้น และยังช่วยถนอมเส้นผมและบำรุงเส้นผมไปในตัวอีกด้วย
21.      ใช้รักษารังแคและชันนะตุ ด้วยการนำมะกรูดมาเผาไฟ นำมาผ่าเป็นซีกแล้วใช้สระผม จะช่วยรักษาอาชันนะตุได้
22.      ใช้ผสมเป็นน้ำอาบเพื่อทำความสะอาด ช่วยทำให้ผิวไม่แห้ง ด้วยการนำมะกรูดมาผ่าซึกลงในหม้อต้มเป็นน้ำอาบ
23.      มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเป็นส่วนผสม
24.      ประโยชน์ของใบมะกรูด เนื่องจากน้ำมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอดและมดในข้าวสาร ด้วยการใช้ใบมะกรูดสดๆ ประมาณ 4-5 ใบต่อข้าว 1 ถัง แล้วฉีกใบเป็น 2 ส่วน ให้กลิ่นออก แล้วใส่ลงในถังข้าวสาร เมื่อใบมะกรูดแห้งแล้วก็ให้เปลี่ยนใบใหม่ เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีแมลงมอดมากวนใจท่านแล้วครับ
25.      มะกรูดสามารถใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำได้ เมื่อทานหรือคั้นเอาน้ำแล้วก็อย่าทิ้งเปลือก ให้นำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดีนัก (เปลือกผล)
26.      ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร ด้วยการใช้โปรยไว้ใต้ต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลง แคปซูลก็จะค่อยๆปล่อยน้ำมันออกมา แถมยังไม่มีอันตรายอีกด้วย
27.      น้ำมันจากใบมะกรูดมีส่วนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด เช่น ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ แอสเปอร์จิลลัส อัลเทอร์นาเรีย และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส
28.      ประโยชน์ใบมะกรูด ใบมะกรูดและน้ำมะกรูดสามารถใช้ดับกลิ่นคาวในอาหารได้
29.      ใช้ในการประกอบอาหารและแต่งกลิ่นคาวหวานของอาหาร เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ฯลฯ
30.      น้ำมะกรูดสามารถใช้แทนน้ำมะนาว หรือใช้ร่วมกับมะนาวได้ จะได้รสเปรี้ยวและความหอมของน้ำมันหอมระเหยที่ผิวมะกรูดเพิ่มขึ้นไปด้วย
31.      มะกรูดยังใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยในการประกอบพิธี
32.      ยาฟอกเลือกสตรี ขับระดู ยาบำรุงประจำเดือน หรือยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย มักจะมีมะกรูดอยู่ในตำรับยาเสมอ
33.      มีการนำเปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด อย่างเช่น สบู่ แชมพูมะกรูด หรือ ยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง เป็นต้น
34.      หากถูกปลิงกัด ไม่ควรดึงออก เพราะจะทำให้แผลฉีกขาดและเลือดจะไหลไม่หยุด แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นให้ใช้น้ำมะกรูดมาราดใส่ตรงที่ถูกปลิงเกาะ ก็จะทำให้ปลิงหลุดออกมาเอง
35.      มะกรูดประโยชน์ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา ด้วยสูตรมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่าๆกัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีก็จะช่วยลดกลิ่นอับแถมยังคลายความปวดเมื่อยได้อีกด้วย
36.      ประโยชน์มะกรูดช่วยดูดกลิ่นในรองเท้าหรือตู้รองเท้า ด้วยการใช้ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม ถ่านป่น และสารส้ม อย่างละ 1 ส่วน นำมาใส่ถุงที่ทำจากผ้าขาวบางหรือผ้าที่มีช่องระบายอากาศ แล้วนำไปใส่ไว้ในตู้รองเท้าหรือในรองเท้า จะช่วยดูดกลิ่นได้อย่างหมดจดเลยทีเดียว
37.      ช่วยทำความสะอาดครบตามซอกเท้า เพื่อลดความหมักหมมด้วยการใช้ สับปะรด 2 ส่วน / สะระแหน่ 1/2 ส่วน / น้ำมะกรูด 1/2 ส่วน / เกลือ 2 ส่วน นำมาปั่นรวมกันแล้วนำไปขัดเท้า
38.      การอบซาวนาสมุนไพร เพื่อขับสารพิษผ่านเหงื่อและรูขุมขน มักจะมีสมุนไพรที่ประกอบไปด้วย ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ไพล ตะไคร้ พิมเสน การบูร และผิวมะกรูดผสมอยู่ด้วย ซึ่งแต่ละตัวก็มีสรรพคุณในการช่วยขับสารพิษทั้งสิ้น
                                                                            บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการดำเนินงาน
         วัสดุอุปกรณ์
1.มีด
2.เขียง
3.ที่คีบ
4.ชาม
5.เครื่องปั่น
6.ขวด
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
  1. แบ่งกิจกรรมตามหน้าที่
  2. สืบค้นหาข้อมูล
  3. รวบรวมข้อมูล
  4. จัดทำเป็นรูปเล่มที่สวยงาม
  5. จัดทำเป็นโครงงานนำเสนอ

                                                                  







                                                                        บทที่ 4
ผลการเรียนรู้
             จากการศึกษาค้นคว้าและฝึกทำน้ำหมักผมจากมะกรูดผลที่ได้คือพวกเราได้เรียนรู้วิธีการน้ำหมักผมจากมะกรูดที่ถูกวิธี และได้น้ำหมักผมจากมะกรูดที่มีคุณภาพและแปลกใหม่จากเดิมด้วยวิธีข้างล่างนี้
วัสดุอุปกรณ์
                 1.มีด                       

                            
2.เขียง



3.ชาม


4.ที่คีบ


5.ตะแกง







ส่วนผสม
1.น้ำเปล่า                                                                                 2.มะกรูด




                 


       




   วิธีการทำน้ำหมักผมจากมะกรูด
1.ย่างมะกรูด


                              


2.นำมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

       


                      

   3.พอหั่นเสร็จแล้วนำมะกรูดที่หั่นเสร็จมาคั่นแล้วเท่น้ำลงนิดหนึ่ง




             4.นำน้ำมะกรูดที่คั่นเสร็จมากลองเอาน้ำมะกรูด






   

5.พอได้น้ำมะกรูดแล้วนำมากรอกลงขวดที่เตรียมไว้แล้วกะจะได้แบบนี้


   


                                      6.เทใส่ขวดพร้อมนำมาใช้



                                                                     บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลงาน
สรุป
   การทำโครงงานน้ำหมักผมจากมะกรูดครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นน้ำหมักผมจากมกรูดเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และทำให้สมาชิกในกลุ่มเกิดความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้นด้วย
อภิปราย
1.            สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
2.            ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3.            นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.            ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
5.            สามารถนำไปประกอบอาชีพได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
           ในการทำโครงงานเรื่องน้ำหมักผมจากมะกรูดในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
1.            รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
2.            ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน เพื่อการศึกษาต่อไป
3.            นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
4.ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการน้ำหมักผมจากมะกรูด
 5.สามารถนำความรู้ในการศึกษาการน้ำหมักผมจากมะกรูดไปใช้ในการประกอบอาชีพได

ภาคผนวก

          


                     


    



      






















อ้างอิง